เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week7

เป้าหมาย: เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เกิดทักษะการมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่จากโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
(7 -11 ธ.ค 58

โจทย์ :
โจทย์ข้อสอบโอเนต Pisa
Key Questions :
- กระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1.75 เมตร ยาว 2.50 เมตร นำมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีพื้นที่ 1,750 ตารางเซนติเมตร จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกี่รูป
- แม่ค้าซื้อแตงโม 150 ผล ราคา3,600 บาท แล้วนำไปขายผลละ 30 บาท เมื่อขายหมดแม่ค้าได้กำไร กี่เปอร์เซ็นต์
- พ่อค้ามีทุเรียนทอด 124 กิโลกรัม นำมาแบ่งใส่ถุง ถุงละ 0.8 กิโลกรัม แล้วนำไปขายถุงละ 45 บาท ถ้าขายหมดพ่อค้าจะได้เงินกี่บาท
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาต่างๆและเกมการคิดที่ได้เรียนรู้
Blackboard Share ระดมความคิดเกี่ยวกับโจทย์ข้อสอบโอเนต Pisa
Show and Share :  นำเสนอวิธีคิดของตนเอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- สี / ปากกา
- สมุด
- บรรยากาศในชั้นเรียน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม กระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1.75 เมตร ยาว 2.50 เมตร นำมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีพื้นที่ 1,750 ตารางเซนติเมตร จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกี่รูป
เชื่อม :
- นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง ครูถามนักเรียนต่อว่า
สระน้ำทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 18 เมตร ยาว 23 เมตร ลึก 5.5 เมตร มีน้ำอยู่ 2/3 ของสระน้ำ น้ำในสระ มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เมตร
ใช้:
 ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วย
อาหารไทยที่นักท่องเที่ยวชอบรับประทาน

ถ้ามีนักท่องเที่ยว 120 คน มีนักท่องเที่ยวที่ชอบรับประทาน
ผัดไทยกี่คน
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า แม่ค้าซื้อแตงโม 150 ผล ราคา 3,600 บาท แล้วนำไปขายผลละ 30 บาท เมื่อขายหมดแม่ค้าได้กำไร กี่เปอร์เซ็นต์  นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ภาระงาน:
- ระดมความคิดเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาต่างๆ
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน

ชิ้นงาน:
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ความรู้
เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เกิดทักษะการมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่จากโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับ
โจทย์ปัญหา
ทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โจทย์ปัญหาได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาขณะที่ทำงานได้
ทักษะการมองเห็นแบบรูป
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์จากโจทย์ปัญหา
 คุณลักษณะ
-  รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
-  มีรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น





ภาพกิจกรรม










ภาพชิ้นงาน            



             

1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้เกมการคิดและโจทย์ข้อสอบ O-Net Pisa
    เกมการคิด การคูณในรูปแบบใหม่ (โดย ครูสังข์)
    พี่ๆป.6 สนใจเพราะเป็นเรื่องใหม่ วิธีคิดใหม่
    พี่มิว : ครูขาหนู งง ค่ะอีกครั้งค่ะ
    ครูสังข์ : ได้ครับ
    พี่ครัช : ผมเข้าใจแล้วครับ
    พี่กอล์ฟ: ตอนที่ครูสังข์ให้เพื่อนแลกเปลี่ยนทำให้เข้าใจครับ
    หลังจากแลกเปลี่ยนเสร็จ นักเรียนทำใบงานที่ครูแจกให้ ท้ายชั่วโมงนักเรียนทำสิ่งที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ
    ในชั่วโมงที่เหลือเด็กๆได้ลองทำข้อสอบ Pisa มีพี่ออม พี่เพลง และพี่แจ๊บที่เร็วและเข้าใจ
    ส่วนพี่ๆที่เหลือเป็นบางข้อที่ยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อถึงขั้นแลกเปลี่ยนพี่ๆที่ไม่เข้าใจเริ่มมองเห็นที่มาที่ไปของแต่ละข้อ ในขั้นนี้ครูจะค่อยๆไป ไม่รีบเร่ง
    เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆ

    ตอบลบ