เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week4

เป้าหมาย: เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโอกาสและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
(16-20 .58

โจทย์ :
- ความน่าจะเป็น
- โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
Key Questions :
- โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง โอกาสที่จะออกหัวและก้อยเป็นอย่างไร
- โยนเหรียญบาท 2 เหรียญ พร้อมกันโอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร
- โยนลูกเต๋า 1 ลูกเต๋า 1 ครั้ง โอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร
- สมมติมีกางเกงอยู่ 2 ตัวคือ กางเกงขาสั้นและขายาว ส่วนเสื้อมีอยู่ 3 ตัวคือเสื้อสีแดง เสื้อสีเขียวและเสื้อสีขาว จะมีวีการเลือกเสื้อและกางเกงมาใส่เป็นชุดที่แตกต่างกันได้กี่วิธี
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่างๆ
Blackboard Share ระดมความคิดเกี่ยวกับโอกาสหรือความน่าจะเป็นจากโจทย์ที่กำหนดให้
Show and Share :  นำเสนอวิธีคิดของตนเอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- สี / ปากกา
- สมุด
- เหรียญบาท
- ลูกเต๋า
- บรรยากาศในชั้นเรียน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง โอกาสที่จะออกหัวและก้อยเป็นอย่างไร”
เชื่อม :
 นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูเขียนความคิดเห็นของนักเรียนบนกระดาน ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร?  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
ครูเขียนโจทย์บนกระดานให้นักเรียนเช่น  โยนเหรียญบาท 2 เหรียญ พร้อมกันโอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม โยนเหรียญบาท 3 เหรียญ พร้อมกันโอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร”
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า โยนเหรียญบาท 2 เหรียญ 2 ครั้งโอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์บนกระดาน โยนเหรียญบาท 3 เหรียญ 2 ครั้งโอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร และโยนลูกเต๋า 1 ลูกเต๋า 1 ครั้ง โอกาสที่ขึ้นเป็นอย่างไร
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม สมมติมีกางเกงอยู่ 2 ตัวคือ กางเกงขาสั้นและขายาว ส่วนเสื้อมีอยู่ 3 ตัวคือเสื้อสีแดง เสื้อสีเขียวและเสื้อสีขาว จะมีวีการเลือกเสื้อและกางเกงมาใส่เป็นชุดที่แตกต่างกันได้กี่วิธี
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบ
นอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง คิดอย่างไร จนทุกคนมองภาพกว้างของโจทย์ปัญหาสถานการณ์ออก
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ภาระงาน:
- ระดมความคิดเกี่ยวกับโอกาส ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน

ชิ้นงาน:
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ความรู้
เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโอกาสและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับ
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โจทย์ปัญหา ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาขณะที่ทำงานได้
ทักษะการมองเห็นแบบรูป
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์เรื่องความน่าจะเป็น
 คุณลักษณะ
-  รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
-  มีรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



ภาพกิจกรรม










ภาพชิ้นงาน           

              

1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนรู้เรื่องความน่าจะเป็นผ่านสื่อจริง คือ เหรียญบาทและลูกเต๋า ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
    เช่น เหรียญบาท 1 เหรียญโยน 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
    พี่ตะวัน : ออกหัว ก้อย ก็ได้ครับ
    พี่แม็ค : ตอนกลุ่มผมทดลองออกหัวตลอดครับ
    พี่แจ๊บ : ผมลองโยนได้หัวเยอะกว่าก้อยครับ
    ครูฟ้า : ถ้าเปลี่ยนเป็น 2 เหรียญจะเป็นอย่างไร
    พี่ครัช : ได้หัว หัว, ก้อย ก้อย, หัว ก้อย, ก้อย หัว
    พี่ออม : ได้เหมือนพี่ครัชค่ะ
    ครูฟ้า : สังเกตเห็นอะไรระหว่าง 1 กับ 2 เหรียญ
    พี่โจ : 1 เหรียญเกิดได้ 2 แบบ ส่วน 2 เหรียญ 4 แบบครับ
    พี่ออม : ยกกำลังค่ะ
    ครูฟ้า : ถ้าเราเปลี่ยนเป็น 5, 10 เหรียญจะเป็นอย่างไรค่ะ
    ในการเรียนรู้เรื่องความน่าจะเป็นของเหรียญที่เกิดขึ้นใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 ชั่วโมงพี่ๆถึงสามารถมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่คะ
    ส่วน 2 ชั่วโมงที่เหลือ เรียนรู้ความน่าจะเป็นของลูกเต๋า เช่น
    โยน 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
    พี่มิว : ลูกเต๋ามี 6 หน้าคะ น่าจะเหมือนกับเหรียญบาทเกิดขึ้นได้ตามจำนวนหน้า คือ 6 แบบ
    พี่ครัช : ออกเป็น 1 ก็ได้ 2 ก็ได้ครับ
    ครูฟ้า : ถ้าเป็น 2 ลูกความน่าจะเป็นจะเป็นอย่างไร
    พี่ๆ: ทดลองโยนลูกเต๋าดู (ซึ่งเกิดเหตุการณ์เยอะมาก)แลกเปลี่ยนบนกระดาน
    พี่ออม : ให้เหตุผลว่าน่าจะเหมือนเหรียญคือ หกยกกำลังจำนวนลูกที่ใช้โยน
    ทำให้ครูรู้ว่านักเรียนเข้าใจและเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่พร้อมกับสามารถอธิบายให้เพื่อนฟังได้

    ตอบลบ