เป้าหมาย (Understanding Goal)

week6

เป้าหมาย: เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เกิดทักษะการมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่จากเกมการคิด
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
(30 .-4 ธ.ค 58

โจทย์ :
- เกมการคิด
- โจทย์ข้อสอบโอเนต Pisa
Key Questions :
- มีเม็ดยางให้ 12 เม็ด หยิบได้ 1,2,3 เม็ดก็ได้ต่อครั้ง คนหยิบสุดท้ายเป็นคนแพ้ และจะทำอย่างไรให้คนแรกที่หยิบเป็นคนชนะ
-โต๊ะอาหารแต่ละตัว จัดที่นั่งได้ 8 ที่นั่ง เมื่อนำโต๊ะ 2 ตัวมาต่อกันจะจัดที่นั่งได้ดังรูป ถ้านำโต๊ะมาต่อกัน 8 ตัว จะจัดที่นั่งได้กี่ที่นั่ง
ลุงเพิ่มต้องการทำทางเดินรอบที่ดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยวัดจากขอบที่ดินเข้าไปด้านละ 1 เมตร ถ้าที่ดิน มีความยาวด้านละ 17 เมตร ทางเดินมีพื้นที่กี่ตารางเมตร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาต่างๆและเกมการคิดที่ได้เรียนรู้
Blackboard Share ระดมความคิดเกี่ยวกับโจทย์ข้อสอบโอเนต Pisa
Show and Share :  นำเสนอวิธีคิดของตนเอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- สี / ปากกา
- สมุด
- บรรยากาศในชั้นเรียน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม มีเม็ดยางให้ 12 เม็ด หยิบได้ 1,2,3 เม็ดก็ได้ต่อครั้ง คนหยิบสุดท้ายเป็นคนแพ้ และจะทำอย่างไรให้คนแรกที่หยิบเป็นคนชนะ
เชื่อม :
- แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4 คน 2 คนแรกเล่น 2 คนหลังสังเกต แล้วสลับกัน ให้เวลา 20 นาที
- นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง นักเรียนเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่ได้อย่างไร เพราะเหตุใด
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วย



   โต๊ะอาหารแต่ละตัว จัดที่นั่งได้ 8 ที่นั่ง เมื่อนำโต๊ะ 2 ตัวมาต่อกันจะจัดที่นั่งได้ดังรูป ถ้านำโต๊ะมาต่อกัน 8 ตัว จะจัดที่นั่งได้กี่ที่นั่ง
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า ลุงเพิ่มต้องการทำทางเดินรอบที่ดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยวัดจากขอบที่ดินเข้าไปด้านละ 1 เมตร ถ้าที่ดิน มีความยาวด้านละ 17 เมตร ทางเดินมีพื้นที่กี่ตารางเมตร นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ภาระงาน:
- ระดมความคิดเกี่ยวกับโจทย์ที่ได้รับ
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน

ชิ้นงาน:
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ความรู้
เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เกิดทักษะการมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่จากเกมการคิด
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับ
โจทย์ปัญหา
ทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โจทย์ปัญหาได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาขณะที่ทำงานได้
ทักษะการมองเห็นแบบรูป
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์จากเกมการคิด/โจทย์ปัญหา
 คุณลักษณะ
-  รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
-  มีรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ภาพกิจกรรม

















ภาพชิ้นงาน  




  

1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้เกมการคิดและโจทย์ข้อสอบ O-Net Pisa
    เกมการคิด เม็ดยาง การหยิบจนมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่
    พี่ๆป.6 ในชั่วโมงสนุกมาก เช่น
    พี่คอร์ด : ครูครับผมเห็นแบบรูปแล้วครับก็ไปทดสอบกับกลุ่มเพื่อนได้ไหมครับ
    ครูฟ้า : ได้ครับ
    พี่คอร์ดจับคู่กับพี่แจ๊บ : ครูครับชนะแจ๊บครับ
    ครูฟ้า : ลองเพิ่มการหยิบเป็น 1-4 จะคิดอย่างไร
    พี่โจ : ทำอย่างไรก็ได้ครับให้เหลือห้าเม็ด
    พี่ใบเตย : กลุ่มพวกเราได้แบบรูปแล้วคะ
    พี่ใบเตย : ไปทดสอบเล่นกับกลุ่มพี่ออม (พี่ใบเตยใช้ได้จริงค่ะ ลองดูสามสี่รอบเลยนะคะนิ)
    จากที่ทดสอบเล่นไปเรื่อยๆครูเปลี่ยนเป็น 20 เม็ดจะทำอย่างไร โดยให้ออกมาทีละคู่กลางวง
    หลังจากเล่นเสร็จ นักเรียนและครูแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และการมองเห็นแบบรูปที่ซ่อนทำอย่างไร
    เช่น
    พี่ทัช : ทำให้เราได้คิดครับ
    พี่แฟ้ม : สังเกตค่ะว่าเพื่อนหยิบอย่างไงและเราจะต้องหยิบอย่างไงค่ะ
    พี่ออม : คิดต่อจากที่ครูเปลี่ยนการหยิบและจำนวนที่เพิ่มขึ้นค่ะ
    พี่ใบเตย : ช่วงแรกคิดเยอะค่ะเพราะต้องทำให้คนแรกที่หยิบชนะ
    ในชั่วโมงที่เหลือเด็กๆได้ลองทำข้อสอบ มีพี่ออม พี่เพลง และพี่แจ๊บที่เร็วและเข้าใจ
    ส่วนพี่ที่ที่เหลือเป็นบางข้อที่ยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อถึงขั้นแลกเปลี่ยนพี่ๆที่ไม่เข้าใจเริ่มมองเห็นที่มาที่ไปของแต่ละข้อ เด็กๆสะท้อนว่าติดที่โจทย์ เพราะเราอ่านไม่เข้าใจและเมื่อเข้าใจแล้วแต่ละขั้นยาวเรายังคูณ หารไม่เร็วค่ะ
    ครูจึงถามพี่ๆว่าเราจะเข้าใจโจทย์ที่ถามได้อย่างไร
    พี่ออม : ดูว่าโจทย์ให้อะไรมาบ้างค่ะ
    พี่เพลง : และโจทย์ถามถึงอะไร
    พี่ออม : เรื่องหน่วยก็สำคัญค่ะในการทำโจทย์
    พี่แม็ค : ผมชอบมากครับเวลาที่เราทำแล้วมาแลกเปลี่ยนกันเพราะผมไม่เข้าใจแต่แลกเปลี่ยนปุบผมเข้าใจเลยครับ
    ส่วนในสัปดาห์หน้าก็จะเรียนรู้เรื่องนี้ต่อเพื่อทบทวนและโจทย์โยนที่ซับซ้อนขึ้น

    ตอบลบ