เป้าหมาย (Understanding Goal)

week5

เป้าหมาย: เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโอกาสและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
(23-27 .58

โจทย์ :
- ความน่าจะเป็น
- โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
Key Questions :
- โยนเหรียญ 3 เหรียญพร้อมกัน
 3 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1. ออกก้อยอย่างน้อย 1 เหรียญ
2. ออกหัวทั้ง 3 เหรียญ
3. ออกหัวและออกก้อยจำนวนเท่ากัน
4. มีจำนวนที่ออกหัวมากกว่าจำนวนที่ออกก้อย
- กล่องใบหนึ่งบรรจุลูกแก้วสีแดง ขาว ฟ้า ม่วง สีละลูกสุ่มหยิบขึ้นมาสองลูกพร้อมกัน ความน่าจะเป็นที่จะหยิบไม่ได้สีแดงพร้อมกับสีขาวเป็นเท่าไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่างๆ
Blackboard Share ระดมความคิดเกี่ยวกับโอกาสหรือความน่าจะเป็นจากโจทย์ที่กำหนดให้
Show and Share :  นำเสนอวิธีคิดของตนเอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- สี / ปากกา
- สมุด
- เหรียญบาท
- ลูกเต๋า
- ลูกแก้วหลากสี
- กล่อง
- ไพ่
- บรรยากาศในชั้นเรียน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม โยนเหรียญ 3 เหรียญพร้อมกัน
 3 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
- ออกก้อยอย่างน้อย 1 เหรียญ
- ออกหัวทั้ง 3 เหรียญ
- ออกหัวและออกก้อยจำนวนเท่ากัน
- มีจำนวนที่ออกหัวมากกว่าจำนวนที่ออกก้อย
เชื่อม :
 นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูเขียนความคิดเห็นของนักเรียนบนกระดาน ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร?  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
ครูเขียนโจทย์บนกระดานให้นักเรียนเช่น  ทอดลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมกันจงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
- ขึ้นแต้มรวมกันเป็น 7
- ขึ้นแต้มต่างกัน 2
- ขึ้นแต้มรวมกันไม่น้อยกว่า 2
- ขึ้นแต้มรวมกันไม่เกิน 9
- ขึ้นแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองเหมือนกัน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม กล่องใบหนึ่งบรรจุลูกแก้วสีแดง ขาว ฟ้า ม่วง สีละลูกสุ่มหยิบขึ้นมาสองลูกพร้อมกัน ความน่าจะเป็นที่จะหยิบไม่ได้สีแดงพร้อมกับสีขาวเป็นเท่าไร”
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า ต้องการจัดการแข่งฟุตบอลแบบพบกันทั้งหมดรอบแรกของทีม ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนามและมาเลเซีย จะสามารถจัดได้ทั้งหมดกี่แบบ นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ภาระงาน:
- ระดมความคิดเกี่ยวกับโอกาส ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน

ชิ้นงาน:
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ความรู้
เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับโอกาสและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับ
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โจทย์ปัญหา ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาขณะที่ทำงานได้
ทักษะการมองเห็นแบบรูป
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์เรื่องความน่าจะเป็น
 คุณลักษณะ
-  รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
-  มีรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรม










ภาพชิ้นงาน               
          

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เรียนรู้ความน่าจะเป็นผ่านโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆเช่น การสุ่มหยิบลูกแก้ว ลูกปิงปอง การจัดการแข่งขัน รวมไปถึงการสร้างโจทย์ให้เพื่อนตอบ
    เมื่อเรียนรู้โจทย์ปัญหาสนุกกันทีเดี่ยว เด็กได้วิเคราะห์ สังเคราะห์และให้เหตุผลจากโจทย์ที่ได้ปะทะ
    คนที่ช้า ได้เรียนรู้จากที่เพื่อนแลกเปลี่ยน ต่อเติมกันไปมาจนเห็นร่วมกัน ครูสนุก เด็กๆก็สนุกกับการเรียนรู้เกิดเสียงแลกเปลี่ยน เสียงหัวเราะ โดยเฉพาะโจทย์ของเพื่อนยิ่งทำให้เด็กๆแต่ละคนรู้สึกท้าทาย อยากทำให้ได้
    อยากให้เพื่อนได้ทำสิ่งที่คิดเช่นกัน

    ตอบลบ