เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week3

เป้าหมาย: เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับคูณร่วมน้อย (ค..) และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
(9-13 .58

โจทย์ :
- ค.ร.น
- โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
Key Questions :
- นับเพิ่มทีละ 2,  5,  10 สังเกตเห็นอะไร คิดอย่างไร เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร
- ตัวคูณร่วม 4, 6 คือจำนวนใด คิดอย่างไร
- ตัวคูณร่วม 4, 6, 7  คือจำนวนใด คิดอย่างไร

เครื่องมือคิด :
Round Robin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา
Blackboard Share ระดมความคิดเกี่ยวกับคูณร่วมน้อย(ค..น) และโจทย์ปัญหาต่างๆในสัปดาห์นี้
Show and Share :  นำเสนอวิธีคิดของตนเอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- สี / ปากกา
- สมุด
- บรรยากาศในชั้นเรียน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม นับเพิ่มทีละ 2,  5,  10 สังเกตเห็นอะไร คิดอย่างไร”
เชื่อม :
 นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูเขียนความคิดเห็นของนักเรียนบนกระดาน ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร?  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
ครูเขียนโจทย์บนกระดานให้นักเรียนเช่น  นับเพิ่มทีละ 4,  6,  20, 25,….?
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม ตัวคูณร่วม 4, 6 คือจำนวนใด คิดอย่างไร”
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้างครูถามนักเรียนต่อว่า ตัวคูณร่วม 4, 6, 7?  มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่   จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์การหาตัวคูณร่วม 10 ข้อไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม ชมรมภาษาไทย นัดประชุม ทุกๆ 6 สัปดาห์ ชมรมวิทยาศาสตร์ นัดประชุม ทุกๆ 4 สัปดาห์ ถ้าเริ่มประชุมครั้งแรกพร้อมกันอีกกี่สัปดาห์ ทั้งสอง ชมรม จึงจะประชุม
พร้อมกันอีกเป็นครั้งที่สอง
เชื่อม :
นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน  เช่น  มีใครคำตอบ
นอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง คิดอย่างไร จนทุกคนมองภาพกว้างของโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ค.ร.
ใช้:
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ค.ร.นไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ค.ร.นและให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ภาระงาน:
- ระดมความคิดเกี่ยวกับคูณร่วมน้อย(ค.ร.น) และโจทย์ปัญหาต่างๆในสัปดาห์นี้
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ค.ร.นและให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน

ชิ้นงาน:
- เขียนโจทย์และแสดงวิธีคิดลงสมุด
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ค.ร.นและให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
ความรู้
เข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับคูณร่วมน้อย (ค.ร.น) และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถนำความเข้าใจไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับ
..น และโจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โจทย์ปัญหา ค.ร.นได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาขณะที่ทำงานได้
ทักษะการมองเห็นแบบรูป
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเลขที่ซ่อนอยู่ใน เรื่อง ค..
คุณลักษณะ
-  รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
-  มีรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น




ภาพกิจกรรม














ภาพชิ้นงาน                  





       

1 ความคิดเห็น:

  1. หลังจากที่พี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ห.ร.ม และค.ร.น มาแล้วในสัปดาห์นี้พี่ๆจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ สังเคราะห์โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆที่ครูเตรียมมา รวมทั้งยังจะได้ตั้งโจทย์ปัญหาเองเพื่อสื่อความเข้าใจต่อเรื่องที่เรียนรู้ เช่น
    พี่แจ๊บ : ชอบ ห.ร.ม จึงตั้งโจทย์เกี่ยวกับ ห.ร.ม เมื่อตั้งโจทย์เสร็จลองให้เพื่อนทำดู เพื่อนก็สนุกกับโจทย์ของเพื่อน
    ครูผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆพยายามให้ทุกคนได้นำเสนอโจทย์ของตนเอง แต่เวลาหมดก่อน จึงให้นำโจทย์ที่เหลือไปทำเป็นการบ้านต่อ เฉลยในวันถัดไป
    การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่ทำ ครูจะสังเกตเห็นได้ชัดว่านักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน สนุก มีความสุขในการเรียนรู้
    สัปดาห์จึงทำให้ครูได้เห็นความเข้าใจในเชิงลึกของนักเรียนในห้องมากขึ้น ประเมินได้ว่าจะเริ่มเรื่องใหม่ได้หรือยังไม่ได้

    ตอบลบ